สังคมแห่งการเรียนรู้
ผู้รับผิดชอบ : กลุ่มสารสนเทศเชิงพื้นที่ โทรศัพท์ : 0-2141-17403
วันที่จัดทำ : วันที่ 11 ธันวาคม 2562
กรอบแนวคิด
- การที่จะพัฒนาประเทศไทยไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ให้เกิดขึ้นในอนาคตนั้น จะต้องให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างทุนของประเทศที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง และมีพลังเพียงพอในการขับเคลื่อนกระบวนการการพัฒนาทั้งในระยะกลางและระยะยาว โดยเฉพาะ “การพัฒนาคน” ให้มีการเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีสิ่งที่สำคัญที่สุดคือทักษะการเรียนรู้ และการเสริมสร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพของคน โดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาประยุกต์ใช้ ทั้งในเชิงระบบและโครงสร้างของสังคมไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ให้ทุกคนในสังคมพร้อมที่จะพัฒนาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืนและเป็นพลังทางสังคมในการพัฒนาประเทศ

องค์ความรู้
- เพื่อตอบสนองต่อกระแสของโลกในศตวรรษที่ 21 ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และพัฒนาสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ทุกประเทศในโลกต่างปรารถนาที่จะเห็นบุคลากรในประเทศของตนได้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ทุกส่วนในสังคมมีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งแนวคิดเรื่องสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ในส่วนของประเทศไทยเองก็เห็นความสำคัญในการพัฒนาสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีแผนพัฒนาและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องดังนี้
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564)
- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) สำหรับใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศไทยในระยะ 5 ปี ซึ่งเป็นการแปลงยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมและวางรากฐานในการยกระดับประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งการพัฒนาประเทศในระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ได้กำหนดสาระสำคัญไว้ ดังนี้
- วิสัยทัศน์์ : มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคงและยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาว “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของประเทศ
- หลักการ :
- 1) น้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกมิติการพัฒนาอย่างบูรณาการบนทางสายกลาง มีความพอประมาณ มีเหตุผล และมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี
- 2) คำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยให้คนเป็นศูนย์กลาง เพื่อสร้างความมั่นคงของชาติและเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการ
- 3) มุ่งเสริมสร้างกลไกการพัฒนาประเทศ ทั้งกลไกที่เป็นกฎหมายและกฎ ระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกระดับ ควบคู่กับการพัฒนากลไกในรูปแบบของคณะกรรมการในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระดับประเทศและระดับพื้นที่
- วัตถุประสงค์
- 1) เพื่อให้คนไทยทุกช่วงวัยมีทักษะความรู้ความสามารถ สามารถพัฒนาตนเองได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
- 2) เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีโครงสร้างที่เข้มแข็ง มีเสถียรภาพ แข่งขันได้ ยั่งยืน
- 3) เพื่อรักษาทุนธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมสู่ความสมดุลของระบบนิเวศน์
- 4) เพื่อสร้างความมั่นคงภายในประเทศ ป้องกันและลดผลกระทบจากภัยคุกคามข้ามชาติ และเพื่อให้การทำงานเชิงบูรณาการในลักษณะเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่ยึดหน้าที่และพื้นที่ ทำให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพและปราศจากคอรัปชั่น
- ยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ประกอบด้วย 10 ยุทธศาสตร์ โดยยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้โดยตรง คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 “การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแนวทางการพัฒนา ดังนี้
- วัตถุประสงค์
- (1) เพื่อปรับเปลี่ยนให้คนในสังคมไทยมีค่านิยมตามบรรทัดฐานที่ดีทางสังคม
- (2) เพื่อเตรียมคนในสังคมไทยให้มีทักษะในการดำรงชีวิตสำหรับโลกศตวรรษที่ 21
- (3) เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีตลอดช่วงชีวิต
- (4) เพื่อเสริมสร้างสถาบันทางสังคมให้มีความเข้มแข็งเอื้อต่อการพัฒนาคนและประเทศ
- เป้าหมายการพัฒนา
- (1) คนไทยส่วนใหญ่มีทัศนคติและพฤติกรรมตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคมเพิ่มขึ้น
- (2) คนในสังคมไทยทุกช่วงวัยมีทักษะ ความรู้ และความสามารถเพิ่มขึ้น
- - เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ
- - เด็กวัยเรียนและวัยรุ่นมีสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์เพิ่มขึ้น
- - วัยแรงงานมีความรู้และทักษะเป็นไปตามความต้องการของตลาดงานและมีทักษะทางการเงินเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
- - ผู้สูงอายุวัยต้นมีงานทำและรายได้ที่เหมาะสมกับศักยภาพของผู้สูงอายุ
- (3) คนไทยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานสากลและสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
- (4) คนไทยมีสุขภาวะที่ดีขึ้น
- (5) สถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสถาบันครอบครัวสถาบันการศึกษา สถาบันทางศาสนา ชุมชน สื่อมวลชน และภาคเอกชน
- แนวทางการพัฒนา
- (1) ปรับเปลี่ยนค่านิยมคนไทยให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย จิตสาธารณะ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์
- (2) พัฒนาศักยภาพคนให้มีทักษะความรู้ และความสามารถในการดารงชีวิตอย่างมีคุณค่า
- (3) ยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- (4) ลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพและให้ทุกภาคส่วนคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพ
- (5) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบสุขภาพภาครัฐและปรับระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ
- (6) พัฒนาระบบการดูแลและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับสังคมสูงวัย
- (7) ผลักดันให้สถาบันทางสังคมมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศอย่างเข้มแข็ง
- แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2574
- สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2574 เพื่อใช้เป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของประเทศ ทั้งที่อยู่ในกระทรวงศึกษาธิการและนอกกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำไปใช้เป็นกรอบและแนวทางการพัฒนาการศึกษาและเรียนรู้สำหรับพลเมืองทุกช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต โดยจุดมุ่งหมายที่สำคัญของแผนคือ การมุ่งเน้นการประกันโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา และการศึกษาเพื่อการมีงานทำและสร้างงานได้ ภายใต้บริบทเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลกที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งความเป็นพลวัตร เพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งภายใต้กรอบแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2574 ได้กำหนดสาระสำคัญสำหรับบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาการศึกษาใน 5 ประการ ได้แก่ การเข้าถึง (Access) ความเท่าเทียม (Equity) คุณภาพ (Quality) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และตอบโจทย์บริบทที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy) ในระยะ 15 ปีข้างหน้า ดังนี้
- วิสัยทัศน์ : ให้ความสำคัญกับการสร้างระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อเป็นกลไกหลักของการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของทุนมนุษย์ และรองรับการศึกษา การเรียนรู้ และความท้าทายที่เป็นพลวัตรของโลกศตวรรษที่ 21
- หลักการ :
- 1) รัฐมีหน้าที่จัดการให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานสามารถพัฒนาขีดความสามารถที่มีอยู่ในตัวตนของแต่ละบุคคลให้เต็มตามศักยภาพ จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม
- 2) รัฐจะประกันโอกาสและความเสมอภาค ในการเข้าถึงบริการการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามศักยภาพและความสามารถของแต่ละบุคคล
- 3) แยกบทบาท อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของรัฐ ในฐานะผู้กำกับนโยบายและแผน ผู้กำกับการศึกษา ผู้ประเมินผลการศึกษา ผู้ส่งเสริมสนับสนุน และผู้จัดการศึกษาออกจากกัน
- 4) รัฐพึงปฏิบัติต่อสถานศึกษาภายใต้กฎกติกา ระเบียบ วิธีปฏิบัติ ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
- 5) ทุกภาคส่วนของสังคม ซึ่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการได้รับการศึกษาของพลเมืองต้องมีส่วนร่วมระดมทุน และร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา
- 6) สถานศึกษาต้องบริหารและจัดการที่แสดงความรับผิดชอบ (Accountability) ต่อคุณภาพและมาตรฐานของบริการการศึกษาที่ให้แก่ผู้เรียน
- 7) รัฐจะกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนากำลังคน จำแนกตามระดับ/ประเภทการศึกษา คณะ/สาขาวิชาที่สนองตอบต่อความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศ
- 8) หลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องมีความยืดหยุ่นหลากหลาย สนองตอบความต้องการของผู้เรียน ทั้งผู้ที่อยู่ในวัยเรียน และผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน
- ยุทธศาสตร์ :
- 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล
- 2) ยุทธศาสตร์ยกระดับคุณภาพ มาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
- 3) ยุทธศาสตร์ผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรมรองรับความต้องการของตลาดงาน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
- 4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล
- 5) ยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
- 6) ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของทุกภาคส่วน
- 7) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการเงินเพื่อการศึกษา
- เป้าหมายสุดท้าย :
- 1) ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ สามารถเป็นกลไกในการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของทุนมนุษย์ (Productivity) ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศ เพื่อให้ประเทศสามารถก้าวข้ามกับดักของประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างยั่งยืน ภายใต้พลวัตรของโลกศตวรรษที่ 21
- 2) ประชากรทุกช่วงวัยสามารถเข้าถึงโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาและการเรียนรู้ จากระบบการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น หลากหลาย และตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเพื่อยกระดับชนชั้นของสังคม ภายใต้ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Based Economy) ที่เอื้อต่อการสร้างสังคมแห่งปัญญาและการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ที่ประชาชนสามารถแสวงหาความรู้และเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
- 3) ผู้เรียนแต่ละระดับการศึกษา ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ในตัวตนของแต่ละบุคคล และมีคุณลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ มีองค์ความรู้ที่สำคัญและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 รวมทั้งทักษะการดำรงชีวิต และทักษะความรู้ความสามารถ และสมรรถนะในการปฏิบัติงานที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศ
- 4) ภาคการศึกษามีทรัพยากรและทุนที่เพียงพอสำหรับการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพมาตรฐาน จากการมีส่วนร่วมในการระดมทุนและสนองทุนเพื่อการศึกษาจากทุกภาคส่วนในสังคม ผ่านการเสียภาษีตามสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง การบริจาค และการร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษา
- 5) สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ด้วยคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล สามารถให้บริการที่ตอบสนองความต้องการบริบทเชิงพื้นที่ ระดับประเทศและระดับภูมิภาคในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของการบริการด้านการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน (Hub for Education) และเป็นภาคเศรษฐกิจหนึ่งของระบบเศรษฐกิจของประเทศและของภูมิภาค ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย
- แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564)
- จากบริบทสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ความเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคอาเซียนและสังคมโลก อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการภายใต้กฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของประเทศ ความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2574 กับทิศทางการพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งในมิติด้านความมั่นคง มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม และมิติด้านการบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือได้ประเมินสถานะของกระทรวงศึกษาธิการโดยการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT) ตามบริบทในข้างต้นแล้ว สามารถกำหนดเป็นสาระสำคัญของแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ซึ่งได้แก่ เป้าหมายหลักและตัวชี้วัด วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ผลผลิต/ผลลัพธ์ของยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดภายใต้ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ ได้ดังนี้
- เป้าหมายหลักของแผนพัฒนาการศึกษาฯ
- 1) คุณภาพการศึกษาของไทยดีขึ้น คนไทยมีคุณธรรมจริยธรรม มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประเทศในอนาคต
- 2) กำลังคนได้รับการผลิตและพัฒนา เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
- 3) มีองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม สนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
- 4) คนไทยได้รับโอกาสในเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
- 5) ระบบบริหารจัดการการศึกษามีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
- วิสัยทัศน์
- “มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในสังคม”
- “ผู้เรียน” หมายถึง เด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ที่ได้รับบริการจากกระทรวงศึกษาธิการ
- “มีความรู้คู่คุณธรรม” หมายถึง รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน สติปัญญา แบ่งปัน ซึ่งเป็น 2 เงื่อนไขตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- “มีคุณภาพชีวิตที่ดี” หมายถึง มีอาชีพ มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในการดำรงชีวิต
- “มีความสุข” หมายถึง ความอยู่ดีมีสุข สามารถอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร มีความสามัคคีปรองดอง
- “สังคม” หมายถึง สังคมไทย ภูมิภาคอาเซียน และสังคมโลก
- พันธกิจ
- 1. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ/ประเภทสู่สากล
- 2. เสริมสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาของประชาชนอย่างทั่วถึง เท่าเทียม
- 3. พัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล
- ยุทธศาสตร์
- 1. ยุทธศาสตร์พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
- 2. ยุทธศาสตร์ผลิต พัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
- 3. ยุทธศาสตร์ผลิตและพัฒนากำลังคน รวมทั้งงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศ
- 4. ยุทธศาสตร์ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษา และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
- 5. ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
- 6. ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
- การนำแผนพัฒนาการศึกษาฯ ไปสู่การปฏิบัติ
- ในการนำแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายนั้น จำเป็นต้องอาศัยส่วนราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการทั้งในแนวระนาบคือ องค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับ และในแนวดิ่งคือ สำนักงานศึกษาธิการภาค/จังหวัดที่จะร่วมผลักดันการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสร้างความตระหนักในการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ และสร้างการสื่อสารถ่ายทอดสาระสำคัญของแผนพัฒนาฯ ระหว่างส่วนราชการทั้งในแนวระนาบและแนวดิ่ง ซึ่งมีเงื่อนไขที่สำคัญคือ การกำหนดเจ้าภาพหลักผู้รับผิดชอบในแต่ละตัวชี้วัดภายใต้แผนพัฒนาฯ ทั้งนี้มีกลไกสำหรับการผลักดันแผนพัฒนาฯ ไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้
- 1. ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ควรให้ความสำคัญในการใช้แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) เป็นกรอบทิศทางในการบริหารงานและการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาในระดับกรม ที่สำคัญควรมีการกำกับติดตามการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามตัวชี้วัดตามเป้าหมายหลัก/ตัวชี้วัดรายยุทธศาสตร์ภายใต้แผนพัฒนาฯ รวมทั้งควรดำเนินการชี้แจงสร้างความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนในสาระสำคัญของแผนพัฒนาฯ ให้ผู้บริหารของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงได้รับทราบและมุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการผลักดันกลยุทธ์ภายใต้แผนพัฒนาฯ ไปสู่การปฏิบัติ
- 2. จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกระทรวงศึกษาธิการ โดยยึดสาระสำคัญของแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) มาใช้วิเคราะห์กำหนดแผนงาน/โครงการที่มีความสำคัญสูง สำหรับการนำไปสู่การขอจัดตั้งงบประมาณของกระทรวงในแต่ละปีงบประมาณ เพื่อรองรับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่ได้ระบุไว้ภายใต้แผนพัฒนาฯ
- 3. หน่วยงานในส่วนกลางระดับกรมจัดทำแผนปฏิบัติราชการ โดยยึดสาระสำคัญของแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) มาใช้วิเคราะห์กำหนดแผนงาน/โครงการในแต่ละปี เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ที่สำคัญควรกำหนดตัวชี้วัดภายใต้แผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงานในส่วนกลาง ให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกระทรวงฯ
- 4. สำนักงานศึกษาธิการภาค/จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติราชการประจำปีระดับภาค/จังหวัด โดยยึดสาระสำคัญของแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกระทรวงตามข้อ 1.2 มาใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์กำหนดแผนงาน/โครงการที่มีความสำคัญสูง เพื่อรองรับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่ได้ระบุไว้ในแต่ละด้าน รวมทั้งควรกำหนดตัวชี้วัดภายใต้แผนปฏิบัติราชการประจำปีของภาค/จังหวัดให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดของแผนพัฒนาการศึกษาของภาค/จังหวัด
- 5. กลไกการบริหารจัดการ ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ที่มีอำนาจหน้าที่กำหนดทิศทางในการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด และพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด และคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ที่มีอำนาจหน้าที่กำหนดยุทธศาสตร์แนวทางการจัดการศึกษา และส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ในรูปแบบที่หลากหลายในแต่ละจังหวัด โดยพิจารณาใช้แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ตามข้อ 1 และ 4 และควรให้ความสำคัญกับการผลักดันแผนงาน/โครงการที่สามารถรองรับกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ทั้งนี้ ควรจัดทำระบบการรายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรค สำหรับทบทวนและกำหนดแนวทางเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์และกระบวนการปฏิบัติงาน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง
- แนวทางการดำเนินงานที่สำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
- ในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ไปสู่การปฏิบัติ นอกเหนือจากการนำยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ไปใช้ในการวิเคราะห์กำหนดแผนงาน/โครงการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทั้งในแนวระนาบและแนวดิ่งแล้ว กระทรวงและหน่วยงานในสังกัดยังสามารถพิจารณานาประเด็นแนวทางที่สำคัญภายใต้แต่ละยุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้ มาใช้กำหนดแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม/งาน สำหรับการดำเนินการได้
- 1. ยุทธศาสตร์พัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
- - กำหนดมาตรฐานหลักสูตรตามระดับช่วงชั้น และมาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษาและสถานประกอบการ เพื่อการจัดกระบวนการเรียนการสอนของสถานศึกษาและการฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ
- - วิจัยและพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้เกิดระบบหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้องค์ความรู้และฐานข้อมูลที่เกิดขึ้นจากระบบการศึกษา โดยพัฒนาระบบคิดแก้ปัญหาและความคิดเชิงสร้างสรรค์ให้ผู้เรียน เพื่อให้เกิดคุณภาพในองค์ความรู้และทักษะต่างๆ สอดคล้องในแนวทางเดียวกับการพัฒนาของประเทศอื่นๆ ที่ใช้ OECD – PISA กำหนดไว้เป็นหลักสูตรสากล
- - จัดหลักสูตรการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างเข้มข้นตามข้อตกลงของ AEC เพื่อรองรับการทางานของอาเซียนได้ตามข้อตกลงฯ และสามารถนำไปต่อยอดค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเป็นภาษาทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
- - จัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่วิจัย พัฒนา และจัดทาหลักสูตรการศึกษา หนังสือเรียน หรือตาราเรียนที่เป็นแก่นหลักตามหลักสูตรและมาตรฐานกลาง รวมทั้งจัดทำคู่มือการประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษา
- - จัดทำแผนการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวอย่างเป็นระบบ และสามารถนำไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อเหตุการณ์และสถานการณ์ของสังคมโลก
- - ปรับปรุงหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละช่วงวัยทักษะในการดารงชีวิต และบริบทของสภาพภูมิประเทศอย่างเหมาะสม
- - ลดวิชาเรียนในชั้นเรียนและบูรณาการวิชาเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีเวลาพัฒนาทักษะการเรียนรู้นอกห้องเรียน ให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละระดับช่วงชั้น ส่งเสริมการพัฒนาการดำเนินชีวิตและจิตอาสาต่อการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ และจัดกิจกรรมเสริมทักษะผู้เรียนให้สอดคล้องกับนโยบายการปรับลดเวลาเรียนในชั้นเรียน รวมทั้งจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการวิชาประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรมในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
- - นำเทคนิควิธีการแจกรูปสะกดคา มาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาอย่างเข้มข้น เพื่อแก้ปัญหาเด็กนักเรียนอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้
- - ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนจากการบอกเล่าโดยครู มาเป็นกระบวนการออกแบบวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมกับศักยภาพผู้เรียน เพื่อให้เกิดกระบวนการ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างสร้างสรรค์
- - นำร่องและขยายผลการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนต้นแบบในพื้นที่ ที่นักเรียนส่วนใหญ่มีคะแนนทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-Net) อยู่ในระดับดี ไปยังโรงเรียนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
- - พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งที่ได้จากการเรียนรู้ในระบบการศึกษา การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งประสบการณ์จากการทำงานเพื่อยกระดับคุณวุฒิของผู้เรียนภายใต้กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ
- - พัฒนาระบบคลังข้อสอบเพื่อการทดสอบวัดผลการเรียนรู้ด้านทักษะความรู้ความสามารถของผู้เรียน
- - พัฒนาตาราภูมิปัญญาท้องถิ่น ตาราพหุวัฒนธรรมที่มีมิติการเรียนรู้เชิงบูรณาการ (Blended Based Learning) ที่ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะชีวิตของตนเองเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาและภูมิสังคมได้
- - สนับสนุนหนังสือเรียนอิเลคทรอนิกส์ (e-Book) และหุ่นจาลองสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ (e-Journal) รวมทั้งเอกสารและสื่ออิเลคทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ (Life Long Learning)เชื่อมโยงกับการศึกษาทุกระดับตั้งแต่ระดับปฐมวัย
- - ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อให้ความรู้ สร้างความตระหนักในเรื่อง ประวัติศาสตร์ของชาติ การอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงามของไทย
- 2. ยุทธศาสตร์ผลิต พัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
- - กำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติของสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อมในการผลิตบัณฑิตสาขาครุศาสตร์ /ศึกษาศาสตร์ โดยจำแนกตามสาขาวิชาที่มีความต้องการจำเป็น
- - กำหนดให้มีสถาบันผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษาในสาขาเฉพาะทางให้มีคุณภาพอย่างเข้มข้นที่สอดคล้องกับบริบทการแก้ปัญหานักเรียนแต่ละระดับและบริบทการจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาปฐมวัย การศึกษาพิเศษ การจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศในด้านต่างๆโดยเน้นการผลิตในระบบจำกัด
- - ทบทวนและปรับปรุงระบบการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ให้เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาความขาดแคลนครูในสาขาวิชาที่ขาดแคลน ครูในพื้นที่ทุรกันดาร และครูด้านอาชีวศึกษา
- - ปรับเกณฑ์กำหนดอัตราครูต่อนักเรียน เพื่อให้มีอัตรากาลังครูกับการพัฒนาผู้เรียนที่เหมาะสมกับระดับและประเภทการศึกษา
- - คืนครูสู่ห้องเรียนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ครูทำหน้าที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหน้าที่อย่างแท้จริง ส่วนภารกิจของโรงเรียนในด้านอื่นๆ ให้จัดหาบุคลากรฝ่ายสนับสนุนที่มีความรู้เฉพาะมาดำเนินการแทน
- - ให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่ผู้เรียนตรงตามสาขาวิชาเอกที่จบการศึกษา
- - ผู้บริหารสถานศึกษาควรปฏิบัติหน้าที่โดยยึดการบริหารในด้านคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญมีการพิจารณาประเมินผลงานจากผลสัมฤทธิ์และคุณภาพผู้เรียนตามข้อตกลงที่ผู้บริหารสถานศึกษาได้ทำไว้กับหน่วยงานต้นสังกัด
- - พัฒนาครูให้มีศักยภาพในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายเหมาะสมกับการพัฒนาผู้เรียนในบริบทที่ประสบอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ และมีการนำไปใช้อย่างจริงจัง
- - กำหนดให้สถาบันที่มีหน้าที่พัฒนาครู และผู้บริหารสถานศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องระบบหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และสามารถบรรลุเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรที่กำหนด
- - กระจายการพัฒนาครูให้แต่ละพื้นที่ได้พิจารณาดำเนินการเอง เพื่อส่งผลให้การพัฒนาผู้เรียนสามารถเป็นไปตามบริบททั้งสภาพภูมิศาสตร์ สภาพปัจจุบัน และศักยภาพของผู้เรียนที่มีความใกล้เคียงกัน
- - นิเทศติดตาม กากับ และประเมินผล ภายหลังจากที่มีการพัฒนาครูอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง โดยพิจารณาจากผลสัมฤทธิ์และคุณภาพผู้เรียน
- - ปรับเปลี่ยนเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะครูโดยใช้คุณภาพผู้เรียนตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนด และให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพผู้เรียนโดยตรง เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินวิทยฐานะ
- - สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยค่าตอบแทนและความก้าวหน้าในวิชาชีพ โดยพิจารณาจากคุณภาพผู้เรียน และตามสภาพบริบทของผู้เรียนและลักษณะพื้นที่
- - แก้ไขปัญหาหนี้สินครูอย่างเป็นระบบ และเน้นปลูกฝังค่านิยมความพอเพียงให้แก่ครูในการดำรงชีวิต
- - ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารงานบุคคลของครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา ให้ทันสมัยสอดคล้องกับสภาวการณ์
- - สร้างบ้านพักครูให้เหมาะสมเพียงพอในพื้นที่ที่มีความขาดแคลนครู เพื่อเป็นการสร้างขวัญกาลังใจและลดปัญหาการขอโยกย้ายออกจากพื้นที่
- 3. ยุทธศาสตร์ผลิตและพัฒนากาลังคน รวมทั้งงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศ
- - ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการในทุกภาคที่มีกลุ่มอุตสาหกรรมตั้งอยู่ จัดการเรียนการสอนในระดับอาชีวศึกษาด้วยระบบทวิภาคี ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเลือกอาชีพได้ก่อนเลือกวิชาเรียน
- - สร้างระบบการผลิตและพัฒนากาลังคนที่มีการเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาให้ได้คุณภาพมาตรฐานระดับสากล สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยีและภาคธุรกิจด้านการบริการในกลุ่มประเทศ AEC รวมทั้งสอดคล้องกับทิศทางนโยบาย Thailand 4.0
- - จัดทำระบบเทียบโอนความรู้และทักษะปฏิบัติของผู้เรียนจากงานอาชีพของผู้เรียนในสถานประกอบการและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
- - ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเทียบโอนวุฒิการศึกษาจากประสบการณ์และการทำงานจริง
- - สร้างความพร้อมกลุ่มเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายในพื้นที่ สู่ทิศทางการทำงานที่สอดคล้องกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
- - เพิ่มขีดความสามารถและทักษะการทำงานของประชากรวัยแรงงานร่วมกับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในแต่ละจังหวัด
- - วิจัยและพัฒนาระบบข้อมูลด้านการศึกษาที่มีความจำเป็นต่อการกำหนดนโยบายพัฒนากาลังคนของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
- - สนับสนุนให้สถาบันอาชีวศึกษาสามารถจ้างผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์จากสถานประกอบการเข้ามาเป็นอาจารย์ผู้สอนให้มากขึ้น
- 4. ยุทธศาสตร์ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษา และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
- - พัฒนาโรงเรียนที่มีสภาพแวดล้อมและคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ(โรงเรียน ICU ทั่วประเทศ) ให้มีห้องเรียนที่เพียงพอ มีครูครบชั้น มีสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่ครบครันมีโรงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ มีบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
- - ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนจัดแหล่งเรียนรู้ทั้งในพื้นที่ตามภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอาศัยความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรชุมชน
- - พัฒนาความสมบูรณ์ในการใช้งานระบบเทียบโอนและการจัดเก็บหน่วยกิตของการเรียนรู้การประเมินจบระดับการศึกษาเพื่อสนองการพัฒนาศักยภาพของแต่ละบุคคล
- - พัฒนาระบบจัดสรรทุนการศึกษาให้เพียงพอ และเหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน ทั้งทุนให้เปล่าและทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
- - สนับสนุนค่าใช้จ่ายและปัจจัยพื้นฐานให้เพียงพอกับความต้องการจำเป็นของสถานศึกษาที่มีความขาดแคลน
- - ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีมาตรฐาน สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ชุมชน ท้องถิ่น โดยเฉพาะวัยกาลังแรงงานและผู้สูงอายุ
- - รณรงค์อย่างต่อเนื่องให้คนไทยมีนิสัยรักการอ่านหนังสือ และพัฒนาห้องสมุดประชาชนให้สามารถเข้าถึงง่ายในทุกพื้นที่
- - พัฒนาค่ายลูกเสือ เนตรนารี ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และจัดกิจกรรมเสริมสร้างระเบียบวินัยแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป
- - จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาในทุกภูมิภาค โดยร่วมกับภาคเอกชน องค์กรชุมชน
- - สร้างและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ให้กับเยาวชน ประชาชนในพื้นที่สูง พื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดน และพื้นที่เกาะแก่ง ชายฝั่งทะเล
- 5. ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
- - พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีเครือข่ายเรียนรู้ทางการศึกษาทั้งระบบให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ โดยการจัดการฐานข้อมูลด้วยระบบ cloud computing ที่มีมาตรฐานจัดเก็บนำเข้าและแจกจ่าย content และ courseware เดียวกัน
- - ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLIT, DLTV) ที่ส่งออกอากาศในระบบ Satellite TV และ IPTV ที่มีประสิทธิภาพสูง และสนับสนุนทรัพยากรให้โรงเรียนที่ขาดแคลนได้รับอุปกรณ์เครื่องมือ Hardware และ Software ที่ทันสมัยมารองรับการศึกษาทางไกล
- - ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง Fiber optic และอินเตอร์เน็ตไร้สาย ให้สามารถใช้งานด้านการศึกษาอย่างไม่จำกัด สามารถส่งข้อมูลจำนวนมากได้อย่างครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ในระบบ WiFi
- - จัดระบบการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Virtual Classroom) มีระบบฐานข้อมูลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
- - พัฒนาห้องสมุดอิเลคทรอนิกส์ (e – Library) ให้ได้มาตรฐาน เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
- - พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) อย่างต่อเนื่องให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการฝึกฝนและประเมินความรู้ด้วยตนเอง และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นปกติ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาทักษะและสร้างนวัตกรรมพัฒนาบทเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (online Tutoring) ด้วยตนเองของผู้เรียน
- 6. ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
- - ทบทวนปรับปรุงบทบาทอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานส่วนกลาง โดยเน้นการกำกับดูแลการอำนวยการ และการให้คำแนะนาแก่หน่วยงานสังกัดกระทรวงในส่วนภูมิภาค/จังหวัด
- - ทบทวนปรับปรุงกฎหมาย กฎกระทรวง กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้มีความทันสมัยเหมาะสม เอื้อต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง
- - ส่งเสริมโรงเรียนขนาดเล็กให้รวมตัวกันเป็นเครือข่ายจัดตั้งเป็นนิติบุคคล รวมทั้งส่งเสริมการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างสถานศึกษา
- - พัฒนากลไกการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาไปยังสถานศึกษาตามความต้องการจำเป็นและสภาพปัญหาที่แท้จริง
- - วิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาทุกระดับ/ประเภทโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Cluster – based, Area – based)
- - สร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา กับสถานศึกษาในภูมิภาค/จังหวัดอย่างต่อเนื่อง
- - เยียวยาครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
- - พัฒนาทักษะด้านอาชีพให้เยาวชน ประชาชน สามารถประกอบอาชีพในบริบทพื้นที่ชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
- - ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม การขจัดความขัดแย้งกิจกรรมส่งเสริมสันติศึกษา ปลูกฝังจิตสำนึกด้านความมั่นคงในพื้นที่ชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
- จากการกำหนดเงื่อนไข กลไก และแนวทางที่สำคัญ ในการนำแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ไปสู่การปฏิบัติตามข้างต้น ซึ่งหากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการทั้งในระดับส่วนกลาง ระดับภูมิภาค และระดับสถานศึกษา ได้นำมาพิจารณาใช้วิเคราะห์เป็นแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม/งาน รวมทั้งมีการกำหนดกรอบเวลาและกำหนดผู้รับผิดชอบการปฏิบัติในทุกขั้นตอนของการดำเนินการอย่างจริงจังแล้ว จะสามารถส่งผลต่อการบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายหลักและเกิดผลผลิต ผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ในในระดับยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ที่สำคัญคือจะเกิดผลประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้รับบริการจากกระทรวงศึกษาธิการได้อย่างเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามกรอบหลักการฯ
นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
- สังคม หมายถึง คนที่มีจำนวนมากพอสมควรที่อยู่รวมกันในอาณาบริเวณ เดียวกัน มีความสัมพันธ์กันตามวัฒนธรรมและตามวิถีชีวิตที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อ กันมาอย่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีระเบียบ กฎเกณฑ์และมีความเชื่อถือ ที่สำคัญ ๆ ร่วมกัน ตลอดจนมีการสังสรรค์หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกันเอง และระหว่างบุคคลกับชุมชน
- ชุมชน หมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ร่วมกัน ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งอย่าง แน่นอน มีความสัมพันธ์และมีปฏิสัมพันธ์ติดต่อกัน สามารถดำรงชีวิตทางสังคม ร่วมกัน และอยู่ร่วมกันในชุมชนโดยคนจะมีการปรับพฤติกรรมให้เป็นไปในลักษณะ ที่คนส่วนใหญ่ในชุมชนต้องการ
- การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการพัฒนาคนที่มุ่งประโยชน์ของคนเป็นหลัก เน้นกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงโดยเรียนรู้องค์ความรู้ต่าง ๆ ผ่านผู้รู้ สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น อย่างสอดคล้อง ตามความสามารถ ความถนัดและตามความสนใจของคนนั้น ๆ ซึ่งเป็น กระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้คนมีความสุขและสามารถนำสิ่งเรียนรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ ได้ในทางสร้างสรรค์
- สังคมแห่งการเรียนรู้หมายถึง ลักษณะของหน่วยงานหรือชุมชนที่ดำเนิน การในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องพร้อม ๆ กันเกี่ยวกับเรื่องอนุรักษ์ บำรุง รักษา ฟื้นฟู ปกป้อง คุ้มครอง พิทักษ์ ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่และปลูกจิตสำนึกให้แก่สมาชิกได้เรียนรู้ด้วยวิธีการผ่านผู้รู้ สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและจากองค์ความรู้ต่าง ๆ ซึ่งทำให้สมาชิกสามารถสร้างความรู้ สร้างทักษะและมีระบบการจัดการความรู้ ที่ดีรวมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งภายใน และนอกกลุ่มสมาชิก ตลอดจนสามารถใช้ความรู้เป็นเครื่องมือในการเลือกและ ตัดสินใจแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการดำเนินชีวิตให้มีความเหมาะสมกับสภาพ ของหน่วยงานหรือชุมชนนั้น ๆ
- บุคคลแห่งการเรียนรู้ เป็นบุคคลที่มีความตระหนักถึงความสำคัญ ความจำเป็นของการเรียนรู้ มีทักษะและกระบวนการในการคิด การวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา มีความใฝ่รู้สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วย ตนเองและสามารถใช้ความรู้ได้อย่าง ถูกต้อง เหมาะสม สามารถเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพตามความต้องการ ความสนใจและความถนัด
- แหล่งการเรียนรู้ เพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้อย่างเพียงพอ หลากหลาย ทั่วถึง ทุกกลุ่มเป้าหมายต้องพัฒนาระบบข้อมูล สารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้ทุกประเภท มีการจัดระบบเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งการเรียนรู้ มีการพัฒนาทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีอยู่ในสังคมให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีศักยภาพในการบริการการเรียนรู้ มีความพร้อม อำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้เหมาะกับศักยภาพของสังคมนั้นๆ
- องค์ความรู้ มีระบบการจัดหาและรวบรวมความรู้จากแหล่งต่างๆ มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บและค้นคว้าองค์ความรู้ได้อย่างรวดเร็ว มีการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก และบริบทของสังคมไทย โดยพัฒนาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่กับฐานความรู้นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับความสามารถของบุคคล กลุ่มหรือชุมชน เพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละชุมชน
- การจัดการความรู้ เริ่มจากการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย พัฒนากลไก กระบวนการถ่ายทอดความรู้ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้อย่างเสมอภาค พัฒนาระบบบริหารจัดการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการสร้างบรรยากาศเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ ให้ประชาชนสามารถเข้าสู่องค์ความรู้ตลอดเวลา และต้องมีการพัฒนาบุคคลองค์กร ให้เป็นผู้จัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน พัฒนาทักษะความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ให้สามารถเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ มีการ บูรณาการใช้ความรู้เป็นฐานในการแก้ปัญหาและการพัฒนาที่เหมาะสมกับสภาพของชุมชน